วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อักษรควบกล้ำ

คำควบกล้ำ     คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผัน เป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า
 ข้อสังเกตว่าเป็นคำควบกล้ำ
  1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี  ร   รวมอยู่ในพยัญชนะต้น
      เช่น     กราบ    สะกดว่า     กร + อา + บ      อ่านว่า       กราบ
                แปรง   สะกดว่า    ปร + แอ + ง     อ่านว่า      แปรง
                กลาง    สะกดว่า     กล + อา + ง      อ่านว่า      กลาง
                ควาย    สะกดว่า     คว + อา + ย        อ่านว่า      ควาย
                แขวน    สะกดว่า    ขว + แอ + น    อ่านว่า      แขวน
  2. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะกึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น
      เช่น    ตลาด  สะกดว่า      ตล + อา + ด      อ่านว่า     ตะ - หลาด
              สวาย    สะกดว่า      สว + อา + ย       อ่านว่า      สวาย
              สว่าง    สะกดว่า     สว + อา + ง+ ่   อ่านว่า      สว่าง
3. ต้องไม่ใช่คำที่มี  ห นำ
     เช่น    หรอก     สะกดว่า     หร + ออ + ก        อ่านว่า      หรอก
              หลับ     สะกดว่า    หล + อะ + บ           อ่านว่า      หลับ
              แหวน    สะกดว่า    หว + แอ+ น           อ่านว่า      กราบ
4. ระวังคำที่มีสระอัวเพราะจะไม่ใช่คำที่มีวควบกล้ำ
    เช่น    สวย      สะกดว่า      ส + อัว +             อ่านว่า      สวย
              ควร      สะกดว่า      ค +อัว +              อ่านว่า       ควร
 คำควบกล้ำแท้
   1.พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่ ครู เพราะ ครัว กรน ปรวนแปร ขรุขระ พระ ตรง ครั้ง กราบ โปรด ปรักปรำ ครื้นเครง เคร่งครัด ครอบ ปรอย กรอง

       คำที่มี ร เป็นคำควบกล้ำ
             คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี   กร-   ขร-   คร-   ตร-   ปร-  พร-     เช่น เต่ากระ มะกรูด ปลากราย กราบพระ ครีบปลา หอยแครง พรุกไทย เครื่องบิน แปรงฟัน เสือโคร่ง
   2.พยัญชนะต้นควบกับ ล ได้แก่ เปล่า ปลีก คลาน คลุก เคล้า เปลี่ยนแปลง กลบ กลม เพลิดเพลิน เกลี้ยกล่อม เกลียวคลื่น คล่องแคล่ว เกล้า
        คำที่มี ล เป็นคำควบกล้ำ
             คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี   กล-   ขล-   คล-   ปล-  พล-     เช่น ของกลาง เป่าขลุ่ย กล่องนม เปลวไฟ ลำคลอง ปลีกล้วย พลอย แปลงผัก  เกล็ดปลา ตีกลอง
  3.พยัญชนะต้นควบกับ ว ได้แก่ กวาด ขวาน ควาย ขวิด แคว่งคว้าง แขวน ขวนขวาย คว่ำ ควาญ แกว่งไกว ความ แคว้น ขวัญ ควัน
      คำที่มี ว เป็นคำควบกล้ำ
             คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี กว-  ขว- คว- เช่น แตงกวา ไม้แขวนเสือ ขวาน ควันไฟ กวาง นอนคว่ำ ไขว่ห้าง สูงกว่า ควาย ไม้กวาด



   คำควบกล้ำไม่แท้    
     1.คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร 

ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียง เป็นเสียงอื่นไป 
     2.คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ได้แก่พยัญชนะ จ ซ ศ ส ควบกับ ร เช่น จริง ไซร้ เศร้า ศรี ศรัทธา สร้าง เสริม สร้อย สระ สรง สร่าง 
     3.คำควบไม่แท้ ท ควบกับ ร แล้วออกเสียงกลายเป็น ซ ได้แก่ ทรง ทราบ ทราม ทราย แทรก ทรุด โทรม มัทรี 

https://sites.google.com/site/thaiclass55/hlak-phasa-thiy/xaksr-khwb-kla

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น